วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธาโปบาเนียร์ สปาธูลา



                               

                                                          ธาโปบาเนียร์ สปาธูลา


แวนดา สปาธูลาตา ( Vanda Spathulata ) หรือ ( Taprobanea spathulata ) สปาธูลาตา แต่เดิมได้รับให้จัดอยู่ในสกุลของ แวนดา (Vanda) ต่อมาได้มีการจัดกลุ่มใหม่ สปาธูลาตา จึงถูกย้าย ให้ไปอยู่ในสกุลของ ( Taprobanea ) จึงกลายเป็นชื่อ Taprobanea spathulata ครับ 
      เมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับ สปาธูลาตา โดย อ. ระพี สาคริก ท่านได้กล่าวเรื่องราวของ สปาธูลาตา ไว้ว่า กล้วยไม้ชนิดนี้พบที่ประเทศ อินเดีย และ ศรีลังกา (ซีลอน) ครับ นอกจากนี้ ยังมีข้อความจาก อ.ระพี สาคริก ใน คอลัมป์ หอมกลิ่นกล้วยไม้ ของ หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก โดยเนื้อหามีดังนี้
     " แวนดา สแปธูลาต้า (Vanda spathulata) เป็นแวนดาใบแบนที่มีรูปทรงต้นแปลกกว่าแวนดาใบแบนชนิดอื่น มีทรง ต้นคล้ายกล้วยไม้สกุล อะแรคนิส (Arachnis) และ เรแนนเธอร่า (Renanthera) ซึ่งมีทรงต้นสูงโปร่ง ช่วงระยะระหว่าง ใบต่อใบห่าง ปล้องยาว ใบสั้นกว่าแวนดาใบแบนอื่น และอาจมีประจุดสีม่วงประปรายตามริมและพื้นใบ พบตามธรรมชาติเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในลักษณะภูมิประเทศโปร่ง มีแสงแดดมาก ช่อดอกยาว 20-40 ซม. แข็งและ ตั้ง มีดอกหลายดอก ออกจากส่วนที่ค่อนไปทางด้านปลายช่อ แม้ว่าจะมีดอกหลายดอก แต่ก็บานครั้งละ 1-3 ดอก โดยไล่จากดอกล่างๆ ขึ้นไปหาปลายยอดของช่อดอก มีขนาดโตประมาณ 3 ซม. สีเหลืองสะอาด เนื้อกลีบและสี ละเอียด 
 ต้นพันธุ์สปาธูลาตาต้นเก่าแก่ที่สวนชิเนนทร มีขนาดกอใหญ่และให้ดอกทุกปี เลี้ยงแสงแดดจัดถึง ๑๐๐%
ลักษณะทั่วๆ ไปของดอก แผ่นและบานผึ่งผาย ปลายกลีบดอกมีลักษณะมนสวยงาม หูปากทั้งสองข้างมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลอมแดง โคนปากเป็นกรวยแคบลงไปจรดเดือยดอก เป็นแวนดาที่มีดอกงามเด่น " ปัจจุบัน สปาธูลาตา ในธรรมชาติลดน้อยลงจนน่าตกใจ ในประเทศไทยเราไม่มีการค้นพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้อีก ในขณะ ที่ประเทศอินเดียเริ่มให้ความสำคัญกับ สปาธูลาตา ถึงขนาดให้เป็นพันธุ์ไม้เฝ้าระวังโดยมีการควบคุมอย่างเข้มงวด 

ฤดูกาลให้ดอกของ สปาธูลาตา สปาธูลาตา มักให้ดอกในช่วงท้ายปี ไปจนถึง ต้นปี ซึ่งจะอยู่ราว ๆ ธันวาคม - กุมภาพันธ์
การปลูกเลี้ยง สปาธูลาตา
สำหรับผมแล้ว หลังจากได้รู้จักกับเจ้า สปาธูลาตา ที่สวนของคุณชิเนนทร ทำให้ผมรู้สึกว่า สปาธูลาตา ไม่ได้เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงยากอย่างที่คิด สปาธูลาตา มีนิสัยที่ชอบแสงแดดมาก ๆ ที่สวนชิเนนทร ปลูกเลี้ยงโดยได้รับแสงแดดเต็มที่ 100% ตลอดวัน สปาธูลาตา สามารถเติบโตชูก้านแตกใบสวยงาม เมื่อลองนำ สปาธูลาตา ไปเลี้ยงในร่ม กลับพบว่าใบและต้นอวบสวยขึ้นแต่ทว่า สปาธูลาตา กลับ ไม่ยอมให้ดอก อาจเป็นเพราะว่า สปาธูลาตา เป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงจัดก็เป็นได้การนำไปเลี้ยงในร่มจึงทำให้สปาธูลาตาไม่สามารถเก็บกักตุนอาหารไม่เพียงพอ ในธรรมชาติเช่นก็เช่นเดียวกัน ในตำรา กล้วยไม้ต่างแดนหลายเล่มบันทึกไว้ว่าพบสปาธูลาตาในบริเวณโล่งแจ้ง เติบโตได้ดีในเขตร้อน

Tip : สปาธูลาตา เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะลำคล้ายเถาวัลย์หากหั่นลำเป็นท่อนจะสามารถแบ่งจำนวนได้โดยง่ายดาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น