เอื้องโมก และ เอื้องโมกพรุ
หากกล่าวถึง คำว่า ใบกลม หรือ terete ในภาษาอังกฤษแล้ว ในแวด วงกล้วยไม้ มีความหมาย ถึงลักษณะของใบกล้วยไม้รูปร่างกลมยาวเป็นรูปทรงกระบอก ที่เมื่อตัดขวางใบแล้ว รอยตัดมีลักษณะกลม กล้วยไม้ใบกลมที่ดอกสวยงามที่มีลักษณะเด่นที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ เอื้องโมก (Vanda teres syn. Papilionanthe teres) และ เอื้องโมกพรุ (Vanda hookeriana syn. Papilionanthe hookeriana)
เอื้องโมก เป็นกล้วยไม้ใบกลมพันธุ์แท้ที่สวยงาม มีถิ่นกระจายพันธุ์ตั้งแต่ เชิงเขาทางด้านใต้ของภูมิภาค หิมาลัย กระจายพันธุ์ ลงมาถึงประเทศเมียนมาร์และไทยถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่ Sylhet .ในช่วงปี คศ. ๑๘oo โดย ดร. นาทาเนล วาลิช (Nathaniel Wallich) แห่งสวนพฤกษศาสตร์ กัลกัตต้า ประเทศอินเดีย (๑๘๑๕-๑๘๔๑)โดยในช่วงนั้นดร. วาลิช ได้เดินทางเก็บตัวอย่าง พันธุ์พืชหลายชนิดรวมถึง เอื้องโมก จากประเทศเนปาล
ต่อมาเขาได้นำ เอื้องโมก กลับไปปลูกที่ประเทศอังกฤษ ในปี คศ . ๑๘๒๙ และต่อมาได้ออกดอกในปี คศ. ๑๘๓๓. และภายหลังนาย จอห์น ลินเลย์ (John Lindley) นักพฤกษศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษได้ศึกษาและจำแนกชนิดพันธุ์ เอื้องโมก จากตัวอย่างแห้งที่เก็บโดย ดร. วาลิช และลงตีพิมพ์ลงในวารสาร พฤกษศาสตร์ ชื่อ Genera and species of Orchidaceous Plants จนกระทั่ง ในปี คศ . ๑๙๗๔ . นาง เลสลี่ การ์เร่ (Leslie Garay) ได้เปลื่ยนชื่อสกุลของ เอื้องโมก จากสกุลแวนด้า มาใช้ชื่อสกุล ปาปิลิโอเนนเท (Papilionanthe) ซึ่งชื่อสกุล ปาปิลิโอเนนเท นี้เป็นชื่อเดิมที่ได้ถูกตั้งชื่อใช้เรียกขึ้นมาก่อนแล้ว โดยนาย ฟรายดริช ริชาร์ด รูดอฟ ชเล็คเตอร์(Friedrich Richard Rudolf Schlecter) นักพฤกษศาสตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ ชาวเยอรมัน
ทุกๆวันนี้ กล้วยไม้สกุล เอื้องโมก จะถูกจำแนกชนิดด้วยลักษณะใบที่กลมมน ซึ่งเป็นที่ยึดถือ ของบรรดานักพฤกษศาสตร์ส่วนใหญ่ ภายหลัง ได้ถูกพิจารณาแบ่งแยกกล้วยไม้สกุลนี้ ออกมาจาก กล้วยไม้สกุลแวนด้า
เอื้องโมก เป็นกล้วยไม้ที่มีต้นขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ชอบขึ้นทอดลำต้นเลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้ขนาดใหญ่ กล้วยไม้ที่ชอบแสงแดดจัดชนิดนี้ อาจมีลำต้นสูงได้หลายเมตร แตกกอและหน่อแขนงได้ง่าย มีลักษณะต้นและใบ กลม เรียวเล็ก ตั้งตรง หรือ อาจโค้งได้ ในบางครั้ง เอื้องโมก จะแทงตาดอกออกตามข้อ ลำต้นช่วงข้อที่ใกล้กับส่วนยอดของต้น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ ๔ นิ้ว ในช่อมีดอกได้มากจำนวน ๓-๕ ดอก กลีบดอกสีชมพูขาว กลีบปากมีสีชมพู ที่หายากคือชนิดที่กลีบดอกสีชมพู แต่มีส่วนของกลีบปากสีเหลืองสด และจำนวนน้อยมากที่พบ ลักษณะกลีบดอกและปากสีขาวล้วนทั้งหมด
โดยธรรมชาติ ในป่าเขตร้อน เอื้องโมก จะออกดอกได้ไม่เป็นฤดู และสามารถแทงดอกได้บ่อยครั้งต่อปี แล้วแต่แหล่งที่มาของ เอื้องโมก แต่ในสภาพ กึ่งเขตร้อน หรือในสภาพ การปลูกเลี้ยง ทั่วไป เอื้องโมก สามารถออกดอกได้ ๑-๒ ครั้ง ต่อปี ในช่วงเดือน มีนาคม -สิงหาคม
เอื้องโมกพรุ (Phapilionanthe hookeriana ชื่อพ้องเดิม=.Vanda hookeriana)
เอื้องโมกพรุ เป็นกล้วยไม้ที่พบขึ้น ในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ในบริเวณแหลมสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และภูมิภาคมาเลเซีย-แพนนิซูล่า นายโธมัส ล็อป และ นายฮัค โล ( Thosmas Lobb & Hugh Low )ได้เก็บตัวอย่างสายพันธุ์ เอื้องโมกพรุ ครั้งแรก จากเกาะบอร์เนียว ได้นำมาปลูกเลี้ยงและส่งต่อมายัง สวนพฤกษศาสตร์หลวง คิว แห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) Royal Botanic Garden Kew โดยนายเฮช จี ริชเชนบิช (H. G.Reichenbach)ได้ศึกษาและ จำแนกชนิดพันธุ์ กล้วยไม้ชนิดนี้โดยในครั้งแรก ได้ถูกจัดให้ อยู่ในสกุล แวนด้า เช่นเดียวกับเอื้องโมก ต่อมาในภายหลัง หลังจากได้มีการศึกษาค้นคว้า อย่างละเอียด กล้วยไม้ชนิดนี้ ก็ถูกจัดให้กลับไปอยู่ในสกุล ปาปิลิโอเนนเท่ เช่นเดียวกับ เอื้องโมก ซึ่งชื่อสกุล Papilionanthe (Papilio แปลว่า ผี้เสื้อ- nanthe = ดูคล้าย) ชื่อสกุลนี้มาจากรากศัพท์ ภาษาละตินสองคำ มีหมายความถึงลักษณะของดอกที่ดูคล้ายผีเสื้อนั่นเอง
ลักษณะภายนอกทั่วไป ลักษณะต้นคล้ายกันกับ เอื้องโมก ทุกประการ แต่ลำต้นและใบจะผอมบางกว่าเล็กน้อย ปลายใบมีรอยหยักคอดแหลมลักษณะคล้ายตะขอ อันเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ โดยคำว่าฮุกเคอเรียน่า หมายความถึงลักษณะปลายใบที่หยักแหลมคล้ายตะขอ
ในธรรมชาติ เอื้องโมกพรุ สามารถเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนมีลำต้นที่สูงมาก ฤดูออกดอกอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม แต่ในธรรมชาติ ก็พบได้ว่า เอื้องโมกพรุ ออกดอกได้ไม่เป็นฤดู ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ก้านดอกออกตามข้อของลำต้นในบริเวณใกล้ส่วนยอดของต้น ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ นิ้ว ในช่อมีจำนวนดอก๒-๔ ดอก กลีบดอกกลม สีโทน ชมพูอ่อน กลีบปากขนาดใหญ่กว้าง มีแต้มสีม่วงแดงเข้มชัดเจน
สายพันธุ์กล้วยไม้ลูกผสม ในกลุ่มสกุลเอื้องโมก
รีเนนเทนด้า มอร์เจนรูท (Renantanda Morgenrood) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมในกลุ่มสกุล เอื้องโมก ชนิดแรกเป็นคู่ผสมระหว่าง เอื้องโมก กับ รีเนนเทอร่า สตอริไอ(V.teres x Renanthera storei) จากเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ที่ได้จดทะเบียนตั้งชื่อเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ ในปี คศ. ๑๘๕๖. ผู้ขอจดทะเบียนคือ โจเซฟฟิน เวนบริโร (J.van Brero) อย่างไรก็ตามลูกผสมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่าง กว้างขวาง ได้แก่ แวนด้ามิสโจคิม (V. Miss Joaquim) เป็นลูกผสมระหว่าง เอื้องโมก กับ เอื้องโมกพรุ( (V.teres x V.hookeriana) นายริดเลย์ (H.N.Ridley) ได้เป็นผู้ขอจดทะเบียนตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ในปี ค ศ.๑๘๙๓. ซึ่งกล้วยไม้ลูกผสมชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในการปลูกประดับตกแต่งประดับสวนเขตร้อน และดอกยังนิยมใช้ทำพวงมาลัยแบบฮาวาย และใช้ในการประดับตกแต่งอื่นๆทั่วไปอีกด้วย
แวนด้ามิสโจคิม ได้ถูกนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผสมเพื่อสร้างสรรค์กล้วยไม้ลูกผสมชนิดใหม่ๆ ไม่ต่ำกว่า๘๕สายพันธุ์ลูกผสมใหม่ที่มีสายเลือดมิสโจคิม หนึ่งในจำนวนนั้นอาทิเช่น แวนด้า เมิอร์ แอล เวลทุยส์ (Vanda Merr L.Velthuis) ซึ่งได้ถูกนำผสมใช้ผสมต่อในชั้นหลังๆ จนได้ลูกผสมมากมายที่จดทะเบียนตั้งชื่อใหม่ถึง ๔o ชนิด
เอื้องโมกพรุ ก็ได้ นำมาผสมข้ามชนิดข้ามสกุล จนได้ กล้วยไม้ลูกผสมชนิดใหม่ๆประมาณ ๒๕ ชนิด หลังจาก แวนด้ามิสโจคิม ยังมีกล้วยไม้ลูกผสมสายเลือด เอื้องโมกพรุ ที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันดี อีกเช่น แวนด้า คูเปอรี (V. Cooperi) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง เอื้องโมกพรุ กับ แวนด้ามิสโจคิม (V.hookeriana x V.Miss Joaqium) ได้จดทะเบียนตั้งชื่อเป็นกล้วยไม้ลูกผสม ชนิดใหม่ ในปี ค ศ . ๑๘๙๓.
เอื้องโมก ก็ได้ถูกนำมาใช้ผสม และได้ ลูกผสมชนิดใหม่ๆมากกว่า ๘o ชนิด ลูกผสม เอื้องโมก ที่นับว่าประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ โจเซฟฟิน แวน บริวโร ( V.Josephine van Brero) เป็นลูกผสมระหว่าง เอื้องโมก และแวนด้า อินซิกเน่ จากประเทศอินโดนีซีย (V.teres x V. insigne) กล้วยไม้ลูกผสม เอื้องโมก ชนิดนี้ได้จดทะเบียน ตั้งชื่อเป็นกลวยไม้ชนิดใหม่ เมื่อปี ค ศ. ๑๙๓๖ . จากลักษะเด่นของกลีบดอกสีม่วงชมพู กลีบปากสีส้มแดงเข้ม ลูกผสมชนิดนี้ได้ถูกนำมาใช้ เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อสร้างสรรค์ กล้วยไม้ลูกผสมชนิดใหม่ๆ ต่อเนื่องขึ้นมาอีก ไม่ต่ำกว่า ๑๒o ชนิด
ลูกผสมอีกชนิดของ เอื้องโมก เช่น แวนด้า เอ็มมา แวน ดีเวนเตอร์ (V. Emma van Deventer) เป็นลูกผสมระหว่าง เอื้องโมก และแวนด้า ไตรคัลเลอร์ จากประเทศอินโดนีเซีย (V.teres x V. tricolor) จดทะเบียนตั้งชื่อเป็นลูกผสมชนิดใหม่โดยนาย แวน ดีเวนเตอร์ ในปี ค ศ . ๑๙๒๖ กล้วยไม้ลูกผสมชนิดนี้ได้ใช้เป็นพ่อแม่ในการผสมครั้งต่อมา และกล้วยไม้ลูกผสมใหม่ๆเกิดขึ้นมากว่า ๔o ชนิด รวมถึง แวนด้า แนลลี่ มอร์เลย์ ( V. Nellie Morley ) ซึ่งได้รับรางวัล เกียรตินิยมจากสมาคมกล้วยไม้อเมริกัน มากกว่า ๕๘ รางวัล ลูกผสม เอื้องโมก ต่างๆเหล่านี้ ได้ปลูกเลี้ยงและใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม กล้วยไม้ตัดดอก อย่างแพร่หลาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การปลูกเลี้ยง เอื้องโมก และ เอื้องโมกพรุ
แสง : กล้วยไม้แวนด้าใบกลม และแวนด้าใบร่องลูกผสม เกือบทุกชนิด ชอบแสงแดดจัด เป็นปัจจัย ให้ผล ถึงนิสัยที่ออกดอกได้ตลอดปีแล้ว ในการออกดอกแต่ละครั้งยังให้ดอกจำนวนมาก ในแต่ละช่อได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะปรับสภาพแวดล้อมให้นำเข้ามาปลูกในโรงเรือน หรือปลูกในอาคารในสถานที่เลี้ยงที่ต้องอาศัยแสงจากหลอดไฟ เช่นทาง ประเทศแถบยุโรปและเอมริกาเหนือ
น้ำและความชื้น : กล้วยไม้ กลุ่มนี้ ชอบน้ำและความชื้นที่มากพอเพียง รดน้ำให้ชุ่มโชกวันละครั้ง ตอนเช้าเมื่อแสงแดดยังไม่จัด หากในช่วงที่อากาศแห้งมาก สามารถ เพิ่มการรดน้ำในช่วงค่ำได้อีกครั้ง และควรงดเว้นการให้น้ำในช่วงเวลาที่มีแสงแดดจัด และควรจัดปลูกให้ภาชนะที่มีการระบายอากาศเพราะกล้วยไม้กลุ่มนี้เป็นกล้วยไม้ รากอากาศที่ชอบการระบายน้ำดี หาก เครื่องปลูกแฉะ เกินไปอาจทำให้เกิดอาการ รากเน่าได้
ปุ๋ย : กล้วยไม้กลุ่มนี้มักชอบให้ใช้ปุ๋ยบ่อยครั้ง เหมาะกับให้ปุ๋ยเป็นประจำและสม่ำเสมอ ทุกสัปดาห์ ใช้ปุ๋ยเกร็ด ละลายน้ำ สตูรเสมอ 21-21-21 ฉีดพ่นบำรุงต้น ตามอัตราส่วนที่ระบุข้างฉลากของภาชนะที่บรรจุ อาจเสริมการให้ปุ๋ย สูตร ตัวกลางและตัวท้ายสูงในช่วงระยะที่กล้วยไม้อยู่ในช่วงฤดูออกดอก
ภาชนะ : กล้วยไม้ชนิดนี้มักปลูกในกระถางดินเผา กระเช้าไม้สักแขวน หรือปลูกติดเสา ติดหลักไม้ วัสดุปลูกใช้ กาบมะพร้าว ถ่าน หรือ หินภูเขาไฟ กล้วยไม้กลุ่ม เอื้องโมก และลูกผสมนี้สามารถ ปลูกประดับ ตกแต่ง ในบริเวณสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อม ของภูมิอากาศ แบบเขตร้อน ชื้น หรือ กึ่งร้อนชื้น โดยสามารถปลูกเป็นแนวรั้ว ปลูกเป็นกลุ่มๆ ปลูกรวมกันในภาชนะขนาดใหญ่ หรือปลูกลงแปลงได้ซึ่งเราจะได้ชื่นชมกับดอกสีสันสดใส ที่ออกได้บ่อยครั้งและบานทนนานกว่ากล้วยไม้กลางแจ้งชนิดอื่นๆ ซึ่ง สามารถ สร้างสรรค์บรรยากาศของสวนเขตร้อนให้กับสถานที่ของคุณได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น