วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฟ้ามุ่ย ( vanda coerulea )




ฟ้ามุ่ย ( vanda coerulea )

ฟ้ามุ่ย ( vanda coerulea )
     ฟ้ามุ่ย กล้วยไม้กลุ่มสกุล Vanda เป็นกล้วยไม้ที่มีชื่อก้องติดหูคู่กับคนไทยมานานแสนนาน เมื่อเอ่ยถึงเอื้อง ฟ้ามุ่ย แล้ว ไม่มีใครที่ไม่อยากครอบครอง ว่ากันว่าล้ำค่าที่สุด หายากที่สุด และได้รับการยอมรับว่าเป็นกล้วยไม้ที่สวยที่สุดชนิดหนึ่งของโลก นอกจากผู้คนที่ใช้ชีวิตกับหุบเขาแล้ว ชาวพื้นราบแทบไม่มีโอกาสได้ครอบครอง กล้วยไม้ชนิดนี้จึงเป็นอัญมณีสีฟ้าที่ล้ำค่าที่หลายคนต่างหมายปองและช่วงชิง
     นอกจากชื่อ ฟ้ามุ่ย แล้ว กล้วยไม้ชนิดนี้ยังรู้จักกันในอีกหลาย ๆ ชื่อ อาทิเช่น พอดอนญ่า และพอท็อก เป็นต้น กล้วยไม้ชนิดนี้พบได้ตามในป่าดิบเขาของภาคเหนือ กล้วยไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1000 เมตรเป็นต้นไป จึงไม่ง่ายเลยที่จะเลี้ยงกล้วยไม้ชนิดนี้ได้ในท้องที่ล่างภาคเหนือลงไป จังหวัดที่พบว่ามี ฟ้ามุ่ย ขึ้นอยู่นั้นได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และตาก ในสมัยหนึ่ง ฟ้ามุ่ย เป็นกล้วยไม้ที่เป็นที่ต้องการของนักเลี้ยงขนาดที่ว่ามีการจ้างวานให้ชาวบ้านที่อาศัยบนภูเขานำ ฟ้ามุ่ย เก็บใส่
         กระสอบเพื่อนำมาจำหน่ายในท้องตลาดให้กับนักเลี้ยงกล้วยไม้ ทำให้ ฟ้ามุ่ย ในภาคเหนือลดน้อยลงจนน่าตกใจและใกล้สูญพันธุ์ ไซ เตส ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ มี วัตถุประสงค์ที่จะรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า จึงขึ้นทะเบียน ฟ้ามุ่ย ไว้ในบัญชีพืชอนุรักษ์ บัญชี 1 ร่วมกับกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี พืชอนุรักษ์ บัญชี 1 หมายถึง ชนิดพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามทำการค้าระหว่างประเทศโดยเด็ดขาด ทั้งการนำเข้า ส่งออก และนำผ่านชนิด ทั้งนี้ต้นที่จะจำหน่ายไปต่างประเทศจะต้องเป็นต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์ เทียมเท่านั้น ทำให้การส่งออกกล้วยไม้ชนิดนี้เป็นไปด้วยความลำบาก แต่ในปี พ.ศ. 2549 มีการประชุมไซเตส ที่จังหวัดเชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร ได้ยื่นขอมติที่ประชุมให้เพิ่มถอนรายชื่อ ฟ้ามุ่ย ออกจาก บัญชี 1 เป็นบัญชี 2 แทน โดยมีเหตุผลว่า ฟ้ามุ่ย ได้มีการคัดพันธุ์และขยายพันธุ์โดยวิธีขยายพันธุ์ เทียม (ปั่นตา หรือเพาะเมล็ดในห้องปฏิบัติการ) แล้วนำมาปลูกเลี้ยงในประเทศกันอย่างแพร่หลาย จากการถอนออกจากบัญชี 1 มาอยู่บัญชี 2 ทำให้การส่งออก ฟ้ามุ่ย ไปต่างประเทศสะดวกกว่าแต่ก่อน
     ในปัจจุบัน เราอาจพบว่ามีกล้วยไม้มากมายที่มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกับ ฟ้ามุ่ย แวนดาสีฟ้าไปจนถึงสีน้ำเงินเข้มจัด ทั้งหมดเป็นลูกผสมของ ฟ้ามุ่ย โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะมีเลือดของ ฟ้ามุ่ย อยู่ราว ๆ 25% - 50% และบางต้นก็คล้ายมากจนแทบแยกไม่ออกว่าเป็น ฟ้ามุ่ย แท้ หรือ ฟ้ามุ่ย ลูกผสม โดยเฉพาะนักเลี้ยงกล้วยไม้ใหม่ที่อาจจะดูเผิน ๆ แล้วกล้วยไม้ที่มีสีฟ้าอาจสรุปได้ว่าเป็น ฟ้ามุ่ย เกือบทั้งหมดก็เป็นได้

           ลักษณะของกล้วยไม้ชนิดนี้ : เอื้อง ฟ้ามุ่ย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยหรือไม้อากาศ สามารถปรับตัวอย่างยอดเยี่ยม ขึ้นเกาะอยู่กับเปลือกไม้ของไม้ยืนต้นในป่า มีรากยึดเกาะเหนียวแน่นและอาศัยเพียงแร่ธาตุที่ชะมากับน้ำฝนผสานกับความชื้น ในอากาศ ก็สามารถรอดชีวิตผลิดอกให้ได้เห็นกันทุกปี ฤดู กาลออกดอกคือระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงธันวาคม โดยออกดอกเป็นช่อตั้งจากซอกใบ ช่อดอกยาว 20-40 ซ.ม. ช่อดอกโปร่ง เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาดกว้าง 4-7 ซ.ม. โดดเด่น ด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปร่างมน สีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอมม่วงมีเสน่ห์ดึงดูดสายตา และน้อยนักที่จะพบสีสันอย่างเช่น สีชมพู หรือ สีขาวล้วน ซึ่งเป็นสีที่หายากที่สุด ทั่วกลีบมีลายเส้นร่างแหสีครามเข้มนิยมเรียกกันว่า “ลายตาสมุก” ส่วนกลีบปากมีสีม่วงน้ำเงินงามยิ่ง 

        การปลูกเลี้ยง ฟ้ามุ่ย 
ในการปลูกเลี้ยง ฟ้ามุ่ย ผมแนะนำให้หาพันธุ์แท้จากฟาร์มกล้วยไม้ เนื่องจาก ฟ้ามุ่ย ที่พัฒนาสายพันธุ์ในพื้นราบจะสามารถเลี้ยงได้ง่ายกว่าการนำกล้วยไม้ป่าที่อยู่บนดอยสูง ๆ มาเลี้ยงที่บ้าน และ กล้วยไม้ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์แล้ว ยังมีความสวยงามกว่า ฟ้ามุ่ย ที่มาจากป่าแท้ ๆ ด้วยครับ แต่การเลือกซื้อ ฟ้ามุ่ย ให้ได้ ฟ้ามุ่ย พันธุ์แท้ ไม่ใช่ลูกผสมนั้น ต้องพิจารณาและคำนึงให้ดีก่อนการตัดสินใจซื้อซึ่งอยู่ที่ดุลพิจนิจของผู้ซิ้อเองทั้งหมดครับ
กล้วยไม้ขวด : เมื่อได้ ฟ้ามุ่ย ขวดมาแล้ว ให้นำลูกไม้ขวดที่ได้รับมาวางในพื้นที่โรงเรือนที่เราจะปลูก โดยห้ามให้แดดส่องถึงเป็นอันขาด (หมายถึงห้ามถูกแสงแดดตรง ๆ นะครับ ไม่ใช่ว่าเอาไปเก็บในร่มซะมืดทึบ) ถ้าแดดส่องถึง อุณหภูมิในขวดจะสูงและทำให้ลูกไม้ในขวดตายครับ ที่นำมา วางก่อนก็เพื่อให้ลูกไม้ปรับตัวกับสภาพโรงเรือนก่อนนั่นเองครับ ส่วนระยะวันที่จะวางนั้นก็ราว ๆ 10 - 15 วัน หรือจะ 15 - 30 วันก็ได้ครับ แล้วแต่ความสะดวก หลังจากวางทิ้งไว้นานพอสมควรแล้ว เราก็สามารถเคาะออกขวดได้ตามปกติครับ 
     ลูกไม้ที่ออกขวดแล้วนั้น ให้นำวางเรียงไว้ในตะกร้าพลาสติกก่อนครับ ตะกร้าพลาสติก 10-15 บาท ที่ขายในตลาดทั่วไปก็ใช้ได้ครับ โดยรดน้ำทุกเช้า แขวนผึ่งไว้แบบนี้จนกว่าจะมีรากใหม่ ประมาณ 1 เดือนได้ ซึ่งในระยะที่อยู่ในตะกร้านี้ ควรอยู่ใต้ซาแรนที่พลางแสงอย่างน้อย 70 - 80% ทั้งนี้เนื่องจากลูกไม้ยังไม่ต้องการแสงมาก ปุ๋ยและยาสามารถฉีดพ่นได้แต่ควรให้ครึ่งเดียวจากปกติ เช่นเดียวกับเด็กอ่อนที่ต้องให้อาหารอ่อน ๆ ก่อนครับ หลังจากรากใหม่เติบโตดีก็สามารถลงกระถางนิ้วได้เลย!


       การขุน และการให้น้ำและปู่ยกับ ฟ้ามุ่ย
ฟ้ามุ่ย บางท่านถึงกับให้น้ำถึง 2 ครั้ง คือเช้าและเย็นและกล่าวกันว่าเป็นกล้วยไม้ที่ต้องการน้ำมาก แต่สำหรับผมแล้วรดน้ำเพียงแค่เวลาเดียวคือเช้าเท่านั้นเนื่องจากทางเหนืออากาศชื้นอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อยครับ หลักของการให้น้ำคือ ชื้นแต่ไม่แฉะ เราสามารถให้น้ำ ฟ้ามุ่ย ช่วงเวลาได้สองช่วงคือ เช้า หรือ เย็นก็ได้ ช่วงเช้าคือตั้งแต่เริ่มมีแสงไปจนถึง 8 โมงเช้า และ เย็นตั้งแต่หลัง 4 โมงเย็น หากรดน้ำในช่วงกลางวัน น้ำอาจจะเข้าไปขังใน กาบใบทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ตามมาได้นั่นเองครับ
     ปุ๋ย หากเป็นระยะไม้เล็ก สามารถให้ปุ๋ยสูตร เสมอ สลับกับตัวหลังสูงได้ ทุก ๆ สัปดาห์ ตัวหลังสูงจะเป็นสูตรที่ช่วงเร่งให้กล้วยไม้โตเร็วขึ้นครับ สูตรปุ๋ยนั้นไม่แน่นอนแล้วแต่ว่าจะประยุคต์ใช้ตามเหตุผลของแต่ละคนครับ ของคุณชิเนนทร ท่านจะสลับเสมอบ้าง กลางบ้าง หลังบ้าง มั่ว ๆ แล้วแต่ว่าอยากจะฉีดอะไรครับ แต่ผลที่ได้ กล้วยไม้ท่านก็สวยสุดยอดทุกต้นเลยครับ ซึ่งก็แปลกดีทั้ง ๆ ที่ไม่มีสูตรตายตัวแท้ ๆ !?

ฟ้ามุ่ย ไม่ออกดอก ทำไงดี ?
เมื่อพบว่า ฟ้ามุ่ย ไม่มีดอก ให้เริ่มพิจารณาดังนี้ครับ
1. เป็นกล้วยไม้จากป่าแท้ ๆ กล้วยไม้ที่ลงดอยนำมาปลูกพื้นราบ หลาย ๆ ต้นปรับตัวไม่ได้ก็จะไม่ให้ดอกครับ เผลอ ๆ เลี้ยงได้แต่ให้ดอกยาก
2. แสงไม่เพียงพอ ผมเคยเดินตามหมู่บ้านบนเขาพบว่าชาวบ้านเลี้ยง ฟ้ามุ่ย กันโดยที่ไม่มีซาแรนปิดบังกลับพบว่า ฟ้ามุ่ย ให้ดอกช่อยาวสวยมาก นั่นเป็นเพราะว่าแสงเป็นปัจจัย สำคัญให้การออกดอกครับ หากได้รับแสงมากกระบวนการปรุงอาหารของกล้วยไม้ก็จะดีและส่งผลไปถึงการออกดอก กรณีเลี้ยงพื้นราบควรเลี้ยงใต้ซาแรนพลางแสงราว ๆ 60-70% กล้วยไม้ที่ได้รับแสงเพียงพอ ไม่ว่าชนิดได ก็จะให้ดอกได้ง่ายครับ ลองดูนะครับ
3. ป่วย อาการป่วยที่พบบ่อยใน ฟ้ามุ่ย คือ ราเข้าใส้ ให้ระวังให้ดีเพราะไม่รู้ทำไม ราชอบเข้าใส้ ฟ้ามุ่ย มากครับ ป้องกันด้วยการหมั่นฉีดยาและทำให้โรงเรือนสะอาดเข้าไว้ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น