เอื้องแววมยุรา ( Dendrobium fimbriatum Hook )
เอื้องแววมยุรา ( Dendrobium fimbriatum Hook )
เมื่อครั้งอดีต เอื้องแววมยุรา ได้ถูกแยกออกเป็นสองชนิด นั่นก็คือ ชนิดที่มีแต้มสีดำตรงบริเวณปาก ชนิดนี้ถูก เรียกในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium fimbriatum var. oculatum และอีกชนิดตามที่นักพฤกษาศาตร์ได้จด บันทึกไว้คือ ชนิดที่ไม่มีแต้มดำบนบริเวณปาก หรือ สีเหลืองล้วน แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่มีเอกสารเล่มไดกล่าวถึงการค้น พบ เอื้องแววมยุรา สีเหลืองล้วนนี้ในประเทศไทยเลยแม้แต่เล่มเดียว
ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1975 Mr. Kamemoto และ Mr. Sagarik ได้ยืนยันถึงสายพันธุ์ ดังกล่าว ว่ามีพบในประเทศไทย ในเอกสารวิชาการชื่อ Orchid of Thailand ได้มีการบันทึกอ้างถึง Dendrobuim gibsonii Lindl. ซึ่งได้ถูกจัดรวมเข้า เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งของ เอื้องแววมยุรา แต่ภายหลังจากปี ค.ศ.1985 เป็นต้นมา ก็ได้ถูกจัดแยกออก เป็นอีกชนิดใหม่ เนื่องจากมีความแตกต่าง ของลักษณะกลีบปาก และลักษณะของกลีบนั่นเอง
ลักษณะทั่วไป ของ เอื้องแววมยุรา เากสังเกตุที่ลำลูกกล้วย จะมีลักษณะยาวเรียวเป็นแท่งโคนลำเล็ก ๆ มีความ ยาวราว ๆ 60-120 ซม. ลำจะมีสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่รีสีเขียวสดเรียงกันเป็นรูปขอบขนาน สลับซ้ายขวา
เมื่อถึงฤดูร้อน ราว ๆ เดือน มีนาคม-มิถุนายน ลำของ เอื้องแววมยุรา ที่ทิ้งใบไปก่อนหน้านี้จะเริ่มแทงดอก โดยดอก ของ เอื้องแววมยุรา จะแทงตรงบริเวณยอดลำ ช่อของดอกจะห้อยยาวลงมา ในหนึ่งช่อ จะให้ดอกประมาณ 10-12 ดอก สีของดอกมีสีเหลืองสด หรือเหลืองอมส้ม ปากมีแต้มสีดำเข้ม หรือบางครั้งอาจพบต้นที่ไม่มีแต้มดำ ริมขอบด้าน นอกของ เอื้องแววมยุรา จะมีลักษณะค่อนข้างแตกต่างจากช้างน้าวคือมีขนหยักเป็นเส้นหยาบ ๆ นั่นเอง
ถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศไทย: ป่าดิบเขา, ป่าดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือและ ภาคตะวันตก (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) (ตัวอย่างสถานที่ ที่พบที่ถูกบันทึกไว้ ในเอกสารวิชาการในช่วงระยะแรกๆ): แม่ฮ่องสอน น่าน ดอยม่อนอังเกตุ ฝาง เชียงดาว สุเทพ, อุ้มผาง กม. ที่๒๘-๓๑(๖๐๐ ม.) ท่าขนุน(๔๐๐ม.) ดอยสะเก็ด
แหล่งกระจายพันธุ์ในภูมิภาค : เมียนม่าร์, ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ หิมาลัย, เนปาล, สิกขิม, ภูฐาน, เขตตะวัน ออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เทือกเขาตะนาวศรีเวียตนาม, ลาว, จีนตอนใต้ (มณฑลกวางสี และยูนาน) และมีรายงาน เคยพบในมาลายา
วิธีการปลูกเลี้ยง เอื้องแววมยุรา เอื้องแววมยุรา จัดเป็นกล้วยไม้ทนร้อนอีกชนิดหนึ่งของไทยเรา กล้วยไม้ชนิดนี้จึงสามารถเลี้ยงได้ทุกภูมิภาคใน บ้านเราเลยครับ การเลี้ยงเจ้า เอื้องแววมยุรา นั้นแสนจะง่ายดาย หากเพื่อน ๆ มีประสบการณ์การเลี้ยงเจ้าเอื้องช้าง น้าวแล้วละก็ เจ้านี่ก็แทบจะไม่ต่างกันเลย
หากคุณเพิ่งได้ เอื้องแววมยุรา มาใหม่หมาด ๆ ให้นำกล้วยไม้ของคุณ ปลูกลงในกระเช้า โดยมีกาบมะพร้าวที่แช่ น้ำแล้วอย่างน้อย 1-2 คืนรองที่ระหว่างรากกับกระถาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ความชื้นแก่ราก ความชื้นนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ แทงรากใหม่ได้อย่างดีเลยละครับ หรือหากจะปลูกติดขอนไม้ก็ให้ใช้กาบมะพร้าวมารองระหว่าง กล้วยไม้กับ ขอนไม้ ก่อนครับ
****สำหรับ เอื้องแววมยุรา นั้น ให้จับลำตั้งขึ้นนะครับ อย่าห้อยหัวลง ไม่งั้นเลือดลงหัวตายแน่ ๆ ครับ
หลังจากปลูกติดกับภาชนะปลูกแล้วให้เลี้ยงในที่ร่มรำไร แสงสว่างเข้าถึงราว ๆ 60 - 70% ก่อน เมื่อรากเดินดีแล้ว ค่อยขยับไปยังบริเวณที่แสงมากกว่าเดิมทีละน้อย ๆ จนกระทั้งให้ได้แสงราว ๆ 80 - 90 % ทั้งนี้ก็เพราะว่า เอื้องแววมยุรา นั้นชอบแสงแดดที่จัด ที่สวน Orchidtropical เรานำ เอื้องแววมยุรา เลี้ยงกลางแจ้ง ท่ามกลางแสง แดดเต็มๆ 100% ตลอดวัน ครับ แต่ใน กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ทางภาคใต้ อากาศอาจจะร้อนกว่าภาคเหนือมาก หน่อย การเลี้ยงควรจะปรับเปลี่ยนจากที่ผมแนะนำมาสักเล็กน้อย โดยแทนที่จะนำเจ้า เอื้องแววมยุรา ปลูกเลี้ยงไว้กลางแจ้ง ก็เปลี่ยนเป็นให้ขยับเข้าร่มแทน โดยเลี้ยงใต้แสลนที่ให้แสงลอดผ่านได้ราว ๆ 70-80% นอกจากแสงจะช่วยทำให้เจ้า เอื้องแววมยุรา เติบโตงอกงามเป็นกอใหญ่สวยแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อการให้ดอกอีกด้วย ยิ่งได้รับแสงมาก โอกาสให้ดอกยิ่งมีมากครับ
การเลี้ยง เอื้องแววมยุรา ในที่ร่มทึบตั้งแต่ 50% ลงไปอัตราการให้ดอกจะลดน้อยลง อาจจะมีดอกบ้าง แต่ดอกที่ได้ จะเป็นช่อพวงสั้น ๆ หรือไม่ก็ไม่ให้ดอกเลยครับ
เทคนิคโดยทั่วไปแล้วก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่เราขยันให้ปุ๋ยทางใบอย่างสม่ำเสมอ พอใกล้ ๆ ฤดูให้ดอก ให้ งดน้ำบ้าง เช่นจากที่เคยรดน้ำทุกวัน ให้ลองงดเป็น วันเว้นวัน หรือ สองวันรดทีปล่อยให้รากแห้ง ๆ เสียบ้าง ทำแบบ นี้จนกระทั่ง เอื้องแววมยุรา แทงตาดอก ถึงจะเริ่มรดน้ำปกติครับ หากรดน้ำทุกวัน เอื้องแววมยุรา จะแทงตาดอกน้อย กว่า รดน้ำสลับวันครับ เป็นเทคนิคเล็ก ๆ ที่ใช้ได้กับหวายไทยเกือบทุกประเภท ลองทดลองกันดูนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น