สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก ( Cirrhopetalum curtisii)
สิงโตพัดแดง Cirrhopetalum curtisii (เซอ โร เพีท ทา ลั่ม เคอ ทิส ซิไอ) เป็นกล้วยไม้ที่ได้ถูกศึกษาจำแนก และตั้งชื่อโดย นายโจเซฟ ฮุกเคอร์ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางพฤกษศาสตร์ ชื่อ โบทานิคั่ล แมกกาซีน ในปี พ.ศ. ๒๔๔o โดย อ้างอิงจากแบบต้นตัวอย่างที่เก็บได้จากทางภาคใต้ของประเทศไทย เขาได้ตังชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย ชาร์ล เคอทิส ซึ่งเป็นนักสะสมพันธุ์ไม้จากสวน แมสวิทช์ และบุตร ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๔๖ นายชาร์ล เคอทิส ได้ทำงานเป็นผู้ดูแลสวนพฤกษศาสตร์ แห่งปีนัง และเป็นคนเก็บกล้วยไม้ สิงโตชนิดนี้ ให้กับสวนพรรณไม้ วิชช์ เนสเซอรี่ นั่นเอง
และหลังจากนั้น อีก ๒o ให้หลัง นาย โจฮานซ์ สมิทช์ได้ศึกษาจำแนกกล้วยไม้ต้นเดียวกันนี้ซึ่งได้จากเกาะบอร์เนียว และได้ตั้งเป็นอีกชื่อหนึ่งในนาม Bulbophyllum corolliferum ในครั้งนั้นได้ตีพิมพ์ลงใน วารสารพฤกษศาสตร์ ชื่อ Bulletin de Jardin Botanique De Buitenzorg ในปี พ ศ. ๒๔๖o
ต่อมา นางเลสลี่ การ์เล่ ได้สรุปและยอมรับกล้วยไม้ สิงโตพัดแดง ชนิดที่มีดอกสีเหลืองครีมอ่อน ซึ่งค้นพบจากประเทศไทย ให้เป็นชนิดสายพันธ์ย่อย ชื่อ ลูเทสเซ้น (var. lutescens) ของ สิงโตพัดแดง และตีพิมพ์ลงในวารสารทางพฤกษศาสตร์ ชื่อ ฮาร์วาร์ต เปเปอ อิน โบทานี ในปี พ .ศ.๒๕๔๒ โดยชื่อสายพันธุ์ย่อย นี้ มาจากรากศัพท์ ภาษาละตินสองคำ คือ คำว่า lutes มีความหมายถึงสีเหลืองเข้ม และคำท้ายว่า escens แปลว่ากลายเป็น รวมหมายถึงลักษณะสีเหลืองครีมอ่อนของกลีบดอกนั่นเอง
เลสสลี่ การ์ เล่ , ฟริทซ์ เฮมเมอร์ และ เอมิลี่ ไซเจอริส นัก พฤกษศาสตร์ทั้งสาม ได้ร่วมกันสรุปนิยาม และลักษณะจำกัดความที่แยก กล้วยไม้สิงโตกลุ่มพัด (Cirrhopetalum) ออกจาก กล้วยไม้ สกุลสิงโตทั่วไป (Bulbophylum) เนื่องจากลักษณะของกลุ่มดอกที่แผ่ออก เป็นรูปพัด และ รูปร่างของกลีบดอกด้านนอกคู่ล่างที่เชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียว อันเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยไม้สิงโตกลุ่มนี้ ซึ่งรายงานดังกล่าวได้ประกาศตีพิมพ์ลงในวารสารด้านพฤกษศาสตร์ ชื่อ นอร์ดิค เจอนัล ออฟ โบทานี่ ในปี พ. ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งในอนาคต เราก็ต่างรอคอยการศึกษาด้าน ชีวโมเลกุล เพื่อศึกษาความชัดเจนของลักษณะทางพันธุกรรม ของ กล้วยไม้ สิงโตพัด กลุ่มนี้
ลักษณะกล้วยไม้ สิงโตพัดแดง มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก รูปไข่ยอดแหลม ซึ่งเกิดระหว่างไหลช่วงระยะห่าง o.๕ - ๑ ซม.ขนาดลำลูกกล้วยมีขนาดโดยเฉลี่ย สูงประมาณ ๑.๕ ซม. กว้างประมาณ ๑.๓ ซม. มีใบเดี่ยวยาวรี กว้าง ๒-๓ ซม. ใบยาวประมาณ ๙- ๑๓ ซม. ก้านดอกเล็กเรียวยาว๗-๑๔ ซม. ก้านดอกสีม่วงอมแดง เกิดจากตาดอกที่โคนลำลูกกล้วย มีดอกขนาดเล็ก สีตั้งแต่ม่วงแดงอ่อนๆไปจนถึงสีเข้มจัด มีดอกในช่อจำนวน ๑๒ดอกหรืออาจมากกว่านั้น ที่กลีบปากมีสีเหลืองสด ขาดของดอกแต่ละดอกมีกลีบกว้างประมาณ ๑-๑.๕ ซม. ในสายพันธุ์ ย่อย ลูเทสเซ็นส์ (var. lutescens) กลีบดอกจะมีสีเหลืองครีมอ่อนทั้งดอก และมีกลีบปากสีเหลืองส้มเข้ม ดอกบานนาน ประมาณ ๕-๗ วัน ที่กลีบดอกล่างรูปพัด จะมี เมือกเหลวใสๆลักษณะคล้ายไข่ขาว เคลือบอยู่ทั่วผิวหน้าของกลีบ
การกระจายพันธุ์ของ สิงโตพัดแดงพบทางภาคใต้ ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว ของประเทศอินโดนีเซีย โดยมาก เราจะพบ กล้วยไม้ สิงโตพัดแดง ชนิดนี้ ขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้นระดับต่ำ ตามคาคบไม้
การปลูกเลี้ยง สิงโตพัดแดง : กล้วยไม้สิงโต ชนิดนี้ สามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูงและอากาศถ่ายเทสะดวก ในฤดูหนาว สิงโตพัดแดง สามารถทนทานต่ออากาศหนาวได้แม้อุณภูมิ ลดต่ำลงถึง ๑๘ องศาเซลเซียส สามารถปลูกในกระถางหรือกระเช้าไม้สัก สิงโตพัดแดง ชอบวัสดุปลูกที่ไม่แฉะและระบายน้ำได้ดีพอควร และ ด้วยลักษณะของต้นที่เป็นไหลทอดเลื้อย ทำให้สามารถปลูกแขวนกับกิ่งไม้ ท่อนไม้ หรือ เปลือกไม้เนื้อแข็ง หรือ ท่อนเฟินได้ แต่หากปลูก สิงโตพัดแดง แขวนกับกิ่งไม้ท่อนไม้ควรรดน้ำหรือพ่นละอองฝอยน้ำเพิ่มเติมเพื่อความชื้น ในระหว่างช่วงที่อากาศแห้งแล้ง แต่ก็ควรให้ต้นของ สิงโตพัดแดง ได้มีโอกาสแห้งบ้างในระหว่างวัน เพราะการให้น้ำมากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวเมื่อเกิดความชื้นสูงและอุณภูมิเปลื่ยนแปลงมากอย่างกระทันหัน อาจทำให้เกิดโรคราดำเข้าทำลายต้นและใบของ สิงโตพัดแดง ทำให้ใบหลุดร่วงเสียหายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น