วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เอื้องสามปอยขุนตาน ( Vanda denisoniana )


เอื้องสามปอยขุนตาน ( Vanda denisoniana )

สามปอยขุนตาน ( Vanda denisoniana )
     สามปอยขุนตาน เป็นกล้วยไม้กลุ่มสกุลแวนดา (Vanda) ชื่อของ สามปอยขุนตาน นั้นได้มาจากแหล่งที่ค้นพบในครั้งแรก ๆ คือ เทือกเขาขุนตาน ปัจจุบันคือ อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน ตั้ง อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง
ลักษณะทั่วไป สามปอยขุนตาน เป็นกล้วยไม้เจริญเติบโตทาง ยอด ใบมีลักษณะยาวเรียวเรียงกันเป็นรูปตัว V พบได้ตามเทือก เขาทางภาคเหนือ สามปอยขุนตาน ที่พบแต่ละแหล่งจะมีลักษณะ ของดอกที่แตกต่างกัน รวมไปถึงกลิ่นด้วย สามปอยขุนตาน ที่เล่า ลือเรื่องกลิ่นหอมแรง ว่ากันว่า ต้องมาจากภาคเหนือ อันนี้จะจริง หรือไม่ก็ต้องลองพิสูจน์กันดูครับ orchidtropical เราอยู่ภาคเหนือ อยู่แล้ว สามปอยขุนตาน ที่พัฒนามาจึงเป็นไม้เหนือทั้งหมดครับ
     ดอกของ สามปอยขุนตาน มีสีสันตั้งแต่สีขาวโพลน ไล่ผ่านสี เหลืองเปลือกกล้วย และเข้มขึ้นไปจนสุดที่สีส้มจัด ขนาดของดอก นั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเหรียญ 5 ไปจนถึง ใหญ่กว่าเหรียญ 10 
ฤดูให้ดอก อยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ ยาวนานได้จนถึง กรกฏาคม หรือ มากกว่า ดอกของ สามปอยขุนตาน นั้นบาน ยาวนานได้ถึงหนึ่งเดือนเลยทีเดียว ที่เด่นที่สุดของ สามปอยขุนตาน คือความหอมที่เย้ายวน กลิ่นของ สามปอยขุนตาน นั้น หอมราวกับอบเชย และกลิ่นจะแรงที่สุดคือช่วงตอนกลางคืน และตอนรุ่งสางเท่านั้น ในตอนกลางวัน สามปอยขุนตาน จะ มีกลิ่นเพียงเบา ๆ ต้องดมใกล้ ๆ แต่บางต้นก็มีกลิ่นหอมตอนกลางวันเช่นกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่มีเพียงบางต้นเท่านั้น 

ลักษณะดอก สามปอยขุนตาน กลีบมีลักษระทรงรูปไข่ ประกอบด้วยกัน 5 กลีบ บริเวณปากดอกตรงปลายสุดแตกแยกออกมาเป็น 2 แฉก มีสีออกสีเหลือง อ่อนไปจนถึงสีขาว ลึกเข้าไปในปากดอกมีสันสองด้านเรียกว่า Side lope มี ลักษณะเป็นสีขาว เส้าเกสรเป็นสีขาว
     แต่ยังมี สามปอยขุนตาน อีกประเภทที่มีลักษณะเด่นกว่า สามปอยขุนตาน ทั่วไป เรียกกันในชื่อ สามปอยหลวง ลักษณะทั่วไปคล้าย สามปอยขุนตาน ทุก ประการ แต่เชื่อกันว่า กลีบดอกและปากดอกหนากว่า ขนาดดอกนั้นใหญ่กว่า บางต้นพื้นดอกมีลายสมุกชัด ปากมีสีเขียวโทนเข้ม ไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม กลิ่น หอมแรงกว่า สามปอยขุนตาน หายากกว่า และมีน้อยคนที่จะดูออกอย่างแท้จริง

จากซ้ายไปขวา สามปอยขุนตานสีเหลือง, สามปอยขุนตานส้ม, สามปอยหลวง 

ผมได้เดินทางเสาะหาเรื่องข้อมูล สามปอยหลวง นานนับปี ซึ่งได้เก็บ รวบรวมภาพ สามปอยหลวง จากสถานที่ต่าง ๆ ที่หาได้ ประกอบกับ สัมภาษณ์บุคคลที่มีประสบการณ์และคลั่งไคร้สามปอยมายาวนาน สองท่าน ค้นหาเรื่องราวของ สามปอยหลวง ในหนังสือกล้วยไม้ หลากหลายเล่มประกอบกัน ซึ่งได้เขียนสรุปถึงความแตกต่างของ เจ้าเอื้อง สามปอยหลวง และ สามปอยขุนตาน ไว้ที่บทความเรื่อง สามปอย <http://www.orchidtropical.com/vanda-denisoniana.php> ซึ่งเก็บไว้ในหน้า นานาสาระกล้วยไม้  <http://www.orchidtropical.com/orchid-knowledge.php>ครับ 

การปลูกเลี้ยงสามปอยขุนตาน
สามปอยขุนตาน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย ถึงแม้จะเป็นกล้วยไม้ทางภาคเหนือ แต่ก็เป็นกล้วยไม้ทนร้อนอีกตัวหนึ่งที่ สามารถปลูกเลี้ยงได้ในทุกภูมิภาคของไทยครับ โดยการปลูกเลี้ยงมีวิธีดังนี้
กรณีได้กล้วยไม้มาเป็นต้นใหญ่แบบถอนรากถอนโคน
- ให้นำกล้วยไม้ที่ได้ มาตัดแต่งรากที่แห้งออกให้หมด เหลือเพียงรากดีเท่านั้น หากปลูกลงในกระเช้าพลาสติก ให้พยายาม บรรจงร้อยรากที่มีอยู่ลงในช่องในรูกระเช้าภาชนะปลูก แล้วจับลำตั้งขึ้นให้ตรง ยึดโดยฟิวหรือเชือกฟางมัดติดกับลวด แขวน นำไปไว้ที่ร่มรำไรเสียก่อนเพื่อให้ สามปอยขุนตาน ได้ปรับตัวแตกรากแตกใบใหม่แข็งแรงดีเสียก่อน แล้วค่อย ๆ ย้ายไปยังที่ที่ปริมาณแสงมากขึ้น
- หากติดขอนไม้ ให้ใช้เชือกฟางผูกมัดกล้วยไม้กับขอนไม้ให้แน่น อย่าให้สั่นคลอน หากคลอนไปมา จะทำให้กล้วยไม้แตก รากใหม่ช้า อาจจะชงักการเจริญเติบโต หรือติดโรคได้ โดยเฉพาะ ราเข้าใส้ ซึ่งเป็นง่ายในสกุลแวนดา โดยเฉพาะตอน รากมีแผล เชื้อจะเข้าไปทางแผลบริเวณรากและลามเข้าต้นจนตายในทที่สุดได้ ป้องกันด้วยการฉีดยากันรา 1 ครั้งต่อ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะฤดูฝน

กรณีกล้วยไม้เพาะพันธุ์จากฟาร์ม
- หากได้เป็นไม้ขวด ให้นำลูกไม้ปลูกลงในตะกร้า โดยห้ามรองพื้นด้วยสเฟกนั่มมอสหนา ๆ เด็ดขาด เพราะจะทำให้รากชื้น จนอาจเน่าได้ ให้นำตะกร้าแขวนไว้ในที่ที่มีลมพัดถ่ายเทสะดวก มีแสงเข้าถึงราว ๆ 60-70% หากได้รับแสงตลอดวันจะดี มาก (หมายถึงแสงที่ลอดผ่านใต้สแลน) หรือหากต้องการหนีบลงนิ้วก็ทำได้ภายหลังจากการผึ่งในตะกร้าแล้ว 1 - 2 เดือน หรือถ้าใจร้อนก็หนีบเลยก็ได้ครับ ลองดูวิธีการเลี้ยงไม้ในตะกร้า และการหนีบไม้นิ้วได้ที่ บทความการหนีบไม้นิ้ว
- กรณีเป็นไม้รุ่น สามารถปลูกเลี้ยงต่อได้เลยไม่มีปัญหาได ๆ ครับ หมั่นฉีดปุ๋ย ยา อาหารให้ สามปอยขุนตาน ของเราให้ สม่ำเสมอ ก็มีดอกให้ดูทุกปีอย่างแน่นอนครับ ต่างจากไม้ป่า ที่อาจจะชงักไปชั่วคราว หรืออาจให้ดอกปีเว้นปี หรือเผลอ ๆ น้อยใจไม่ให้ดอกเลยก็มี
***ข้อควรระวัง !! อย่าให้ราก สามปอยขุนตาน ยาวแตะพื้น หรือ ระวังอย่าให้รากมีรอยช้ำ หรือ ขาด เพราะ กล้วยไม้สกุล แวนดา ติดโรคราเข้าใส้ได้ง่ายมาก เมื่อรากมีแผล หรือช้ำ โดยเฉพาะโรงเรือนที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
****เครื่องปลูกไม้รุ่นนั้นแทบไม่จำเป็นต้องมี สามปอยขุนตาน เป็นแวนดาที่แตกรากเร็วมาก หากเลี้ยงเปลือยรากในกระเช้า รากจะแตกแขนงและยาวเรื่อย ๆ ดูสวยงามไปอีกแบบครับ หากใส่เครื่องปลูกต้องระวังให้ดี เครื่องปลูกที่เก่า มักเป็นตัวปัญ หาเรื่องโรคราเข้าใส้ตามมา ดังนั้น ไม่ใส่ น่าจะดีกว่าไหมครับ ?

สามปอยขุนตานไม่ออกดอกทำไงดี ?
- กรณีเลี้ยงเท่าไหร่ก็งามแค่ใบ ไม่มีดอกเสียที ให้ลองเปลี่ยนที่ โดยพยายามให้ได้รับแสงที่มากขึ้น ปัญหาของกล้วยไม้ที่ มีใบงาม จนเกินเหตุแตกหน่อแตกกอดีแต่ไม่มีดอกนั้นเป็นเพราะขาดแสงครับ ยิ่งได้รับแสงมาก กล้วยไม้ยิ่งให้ดอกง่าย แต่ไม่ได้หมายถึงให้เรานำกล้วยไม้ไปตากแดดทั้งวันนะครับ ให้ได้รับแสงอย่างน้อย ๆ ก็ตอนเช้า ตั้งแต่แสงแรกถึง 10.00- 11.00 น. หรือ หลัง 15.00 น. เป็นต้นไป หลีกเลี่ยงแสงแดดตรง ๆ ช่วงเวลา 11.00 น. - 15.00 น. เพราะแดดแรง ร้อนจัด อาจทำให้ใบกล้วยไม้ไหม้เกรียมถึงตายได้ ซาแรนที่ใช้ ในโรงเรือนจะอยู่ที่ 40-70 % โดยเลือกตามความเหมาะสมของแต่ ละพื้นที่ ถ้าร้อนมากก็มุงหนาหน่อย ถ้าไม่ร้อนก็มุงบางเอาแสงมากเข้าว่าครับ
*****ซาแรน 40% หมายถึง แสงผ่านได้ 60% ที่เหลือ 40% แสงผ่านไม่ได้ ปัญหาดอกฝ่อ ปลายยอดดอกฝ่อ
- เกิดขึ้นได้หากอากาศร้อนจัดครับ ยิ่งร้อนมาก โอกาสปลายยอดดอกฝ่อ ก็มีมากตามขึ้นไป ป้องกันด้วยการ มุงซาแรนให้สูงจากปลายยอดกล้วยไม้ ขึ้นไปราว ๆ 1 เมตร (ผมกะเอานะครับ ลองเอาตามเหมาะสมครับ ไม่สูง มากไป ไม่ต่ำเกินไป ) ร่มเงาของซาแรนจะช่วยป้องกันความร้อนจากแดด ได้ทำให้ยอดดอกไม่ฝ่อ
- อีกหนึ่งสาเหตุคือเพลี้ยไฟเข้าทำลายดอกครับ วิธีป้องกัน ลองอ่าน บทความเรื่อง เพลี้ยไฟ ดูนะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น